วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการอ่านหนังสือ ...(^o^)

หลักการอ่านหนังสือ
เทคนิคการอ่านรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
1. เริ่มอ่านด้วยหนังสืออ่านง่ายและสนุก อ่านสมํ่าเสมอทุกวันในช่วงเวลาสั้นๆ
2. มีความตั้งใจที่จะอ่านให้เร็วกว่าเดิม
3. กําหนดเวลาในการอ่านให้แน่นอน เช่น 30 นาที 1 ชั่วโมง
4. จับใจความให้ได้ด้วยการทดลองทํานายเนื้อเรื่องล่วง หน้าและทบทวนเรื่องที่อ่านผ่านไปแล้ว
5. ศึกษาศัพท์ ความหมายของคําที่ใช้ คําใดที่ไม่แน่ใจควรทํา เครื่องหมายไว้
6. อย่าพยายามเคลื่อนใหวสายตาย้อนกลับ จะทําให้เกิดความ สับสน
7. อ่านโดยกวาดสายตาไปรอบๆ
8. อ่านในใจไม่พึมพํา หรือทําปากขมุบขมิบ
9. จดบันทึกผลความก้าวหน้า
10. อย่าหยุดอ่านเพื่อจดบันทึกจนกว่าจะจบตอนหนึ่งๆ
จากบทความ "การฝึกการอ่าน" ในวารสารแนะแนววิทยาลัย ครูเทพสตรี เล่ม 5 ประจําภาคกลาง พ.ศ. 2509
เทคนิค SQ 3R ของ Dr.Francis Robinson
1. สํารวจ (Survey) ส่วนต่างๆของหนังสือ เช่น คํานํา สารบัญบรรณานุกรม
2. ตั้งคําถาม (Question) จากเนื้อหา
3. อ่านหาคําตอบ (Reading)
4. ระลึก (Recall) สิ่งที่อ่านผ่านไปแล้ว
5. ทบทวน (Review)
วรรณา เกตุภาค เขียนไว้ในวารสารการศึกษาเอกชน ปีที่ 3 ฉบับที่ 12
เทคนิคการอ่านตําราเรียนให้ได้ดี
1. สํารวจหนังสือ : เพื่อรู้จักคุ้นเคย
2. อ่านแนวคิดหลัก : จับประเด็นสําคัญ
3. ตั้งคําถามขณะอ่าน : อะไร ทําไม อย่างไร ใคร เมื่อไร
4. เน้นประเด็นสําคัญ : ทําเครื่องหมาย
5. ประสานคําบรรยายกับตํารา : ช่วยให้เข้าใจลึกซึ้ง
6. ทบทวน : บ่อยๆจะจําได้ดี
จาก คู่มือจัดกิจกรรมกลุ่ม "การเสริมสร้างประสิทธิภาพทางการเรียน'
โดย ผศ. เรียม ศรีทอง
การศึกษาตามหลัก SOAR
S=Survey สํารวจหรือสร้างความคุ้นเคยก่อนอ่าน
· ที่มา คํานํา สารบัญ รูปแบบของหนังสือ หนังสืออ้างอิง ดัชนี
· คํานํา หัวข้อ สรุป ของแต่ละบท
O=Organize เรียบเรียงหรือจดสิ่งที่ได้อ่าน
· ทําเครื่องหมายเน้นประเด็นสําคัญ ประเด็นรอง เมื่ออ่าน
· จดย่อ
A=Anticipate ทดลองทําแบบฝึกหัด ตอบคําถาม หรือทดสอบ R=Recite and Review หัดท่องจําและทบทวนเสมอๆ จาก College Study Skills โดย Shepherd, J.J.
การอ่านหนังสือประเภทต่างๆ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์: ไม่ควรอ่านตะลุยเรื่อยๆ รวดเดียวจบเล่มควรอ่าน แล้วหยุดพักเป็นตอนๆไปเรื่อยๆ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ : ควรอ่านตะลุยรวดเดียวไปจนจบเพื่อให้เรื่องราว สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน วรรณคดี : อ่านอย่างรอบคอบถี่ถ้วน อ่านช้าๆไม่รีบเร่งปล่อยอารมณ์ให้คล้อยตามคําบรรยาย ถ้าอ่านเพื่อศึกษาควร มีการวิเคราะห์เรื่องราว บทบาทของตัวละครตลอดจนส่วนอื่นๆของวรรณคดี นิตยสารและหนังสือพิมพ์ ควรใช้วิจารณญาน พิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ใช่ เชื่อทุกอย่างตามที่ข่าวรายงาน
ที่มา :
http://www.entrance.co.th/newentinfo/technicent/reading.asp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น