เป็นการทดสอบความถนัดทั่วไป เพื่อวัดศักยภาพของนักเรียนที่จะเรียนมหาวิทยาลัย โดยข้อสอบจะเน้นวิเคราะห์เป็นหลัก
เนื้อหา
-> การอ่าน เขียน คิดวิเคาระห์และการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 50%
-> การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50%
ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นแบบปรนัยและอัตนัย
-> คะแนน 300 คะแนน เวลาสอบ 3 ชั่วโมง
-> ข้อสอบเน้น Content Free และ Fair
-> เน้นความซับซ้อน (Complexity) มากกว่าความยาก
-> มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อสอบ
จัดสอบปีละ 3 ครั้ง (มีนาคม , กรกฎาคม, ตุลาคม )
-> คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (สอบได้ตั้งแต่ม.4)
===================================================
PAT ย่อมาจาก Professional Aptitude Testเป็นการสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ แบ่งเป็นทั้งหมด 6 ชุด ประกอบด้วย
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
-> เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonomentry, Calculus ฯลฯ
-> ลัษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
-> เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ
-> ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์
-> เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics,Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ
-> ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Preceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
-> เนื้อหา เช่น Architectural Math and Sciences ฯลฯ
-> ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability
PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
-> เนื้อหา เช่น ความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
-> ลักษณะข้อสอบ ครุศาสตร์ (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills), ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
-> เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทางศิลป์ ฯลฯ
-> ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่ 2
-> เนื้อหา จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions
-> ลักษณะข้อสอบ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills
ลักษณะข้อสอบ PAT
- จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
จัดสอบ
- เมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
===================================================
Admission คืออะไรAdmission คือ ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ( Central University Admissions System: CUAS) หรือระบบแอดมิสชั่นส์กลาง ที่ใช้ทำการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2549 แทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยดังนี้
1. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ( GPAX) ให้ค่าน้ำหนัก 10%
2. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPA) 3-5 กลุ่มจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนัก 20% ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนัก 30% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนัก 40%
3. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ( Ordinary National Educational Test : O-NET) ประกอบด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 35-70%, ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 30-60% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 25-50%
4. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง ( Advanced National Educational Test : A-NET) และ/หรือวิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา โดยในปีการศึกษา 2549 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-35%, ในปีการศึกษา 2550 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-30% และในปีการศึกษา 2551 ให้ค่าน้ำหนักรวมไม่เกิน 0-25%
ทั้งนี้องค์ประกอบที่ 1 และ 2 จะต้องถ่วงน้ำหนักโดยผลสอบ O-NET เป็นรายบุคคลก่อนนำไปใช้ โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติจะเป็นผู้จัดสอบ O-NET และ A-NET
===================================================
รับตรง = 60% ดังนั้น มาเตรียมความพร้อมก่อนสอบตรงดีกว่า
การเตรียมความพร้อมและเทคนิคในการสอบตรง
การสอบตรงในปัจจุบันประกอบด้วย 3 รูปแบบหลัก
แบบที่ 1 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบข้อเขียน -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
แบบที่ 2 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบข้อเขียน + O-NET, A-NET -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
แบบที่ 3 ผ่านคุณสมบัติ -> สอบสัมภาษณ์ + ดู Portfolio
คุณสมบัติ
ในการสอบตรง มหาวิทยาลัยจะพิจารณานักเรียนที่มีคุณสมบัติและความสามารถตรงกับความต้องการของคณะหรือสาขาเพื่อที่นักเรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนและการทำงานต่อไป
การสอบข้อเขียน
ข้อสอบในการสอบตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าโครงการนั้นต้องการนักเรียนที่มีความสามารถด้านใด เช่น สอบตรงนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยก็จะต้องการนักเรียนที่มีความสนใจด้านกฎหมาย มีความสามารถในการจับใจความ
การสอบสัมภาษณ์
โดยส่วนมากจะเป็นลักษณะการสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการและการสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมและความสนใจในคณะหรือสาขา ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ
การสอบสัมภาษณ์ทางวิชาการ จะเป็นการถามตอบเชิงวิชาการ ลักษณะข้อสอบเหมือนข้อสอบอัตนัยโดยข้อสอบจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น นักเรียนต้องเตรียมพร้อมโดยศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ต้องเรียนของคณะหรือสาขานั้น
การสอบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความพร้อมความสนใจ จะเป็นการสอบเพื่อวัดความพร้อมและความสนใจของนักเรียนว่ามีความสนใจที่จะเข้าเรียนมากน้อยเพียงไร คำถามที่มักพบบ่อยเช่น "ทราบหรือไม่ว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร?"
Portfolio
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญและนักเรียนจะต้องเตรียมไปในวันสอบสัมภาษณ์ คือ แฟ้มสะสมงานหรือ Portfolio ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญ "คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ" ต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะหรือสาขาที่เรากำลังจะไปสัมภาษณ์จึงจะดีที่สุด
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีแบบนี้จาก : http://board.pecschool.net
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีแบบนี้จาก : http://board.pecschool.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น