วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เพิ่มวงเงินLTF-RMF ผลลัพธ์ของ…คนรวย



เพิ่มวงเงินLTF-RMF ผลลัพธ์ของ…คนรวย

มีคนถามถึงมากทีเดียวสำหรับนโยบายที่ใช้กระตุ้นการลงทุน และการออมของ คณะรัฐมนตรีสมชาย ซึ่งก่อนหน้านี้ยุ่งอยู่กับการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาจนไม่คำนึงว่า เส้นทางที่เดินผ่านนั้นจะต้องแลกมาด้วยการเข่นฆ่าประชาชนก็ตาม โดยมติของคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 14 ตุลาคม 2251 ในการขยายวงเงินหักค่าลดหย่อนสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มมากขึ้น แก่ประชาชนที่ลงทุนในกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ(RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) นั่นเองที่นำมาถึงข้อสงสัยที่ว่า… ผู้ได้รับประโยชน์มากที่สุดคือใคร? แต่เท่าที่ทราบน่าจะเป็นประเด็นเก่าไปแล้วสำหรับผู้ติดตามข่าวสารด้านกองทุนรวม เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการขยายวงเงินในการลงทุนประเภทนี้ไปแล้วครั้งหนึ่งจาก 300,000 บาทเป็น 500,000 บาท และ ต้องเขาใจก่อนว่า การลงทุนในกองทุน LTF และ RMF นั้นจะได้รับสิทธิ์หักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน หรือไม่เกิน 5 แสนบาทต่อปี แต่ในปัจจุบันสามารถ หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 7 แสนบาทต่อปี นักลงทุนท่านหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า ตนเองได้ลงทุนกับกองทุน LTF มาประมาณ 3 ปีแล้วและในแต่ละปีจะลงทุนประมาณ 40,000 บาท หรือคิดเป็นเกือบ 10% ของรายได้ทั้งหมด ส่วนการขยายวงเงินในครั้งนี้ เขามองว่า น่าจะมีผลต่อผู้มีรายได้สูง(คนรวย) มากกว่า พนักงานระดับปานกลางที่มีรายได้ในหลัก หมื่นบาทต่อเดือน เนื่องจากในปัจจุบันกลุ่มคนในระดับเขานั้นมีเงินลงทุนที่เหลือไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และการลงทุนในกองทุนประเภทนี้ก็เพียงต้องการใช้สิทธิ์ในการหักลดหย่อนภาษีเท่านั้น “เงินลงทุนใน LTF ทุกวันนี้ก็ไม่ได้ใช้สิทธิ์เต็มวงเงินที่ได้รับ เพราะเงินที่เสียภาษีเองมันก็ไม่สูงมาก และนเองก็มีการลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยง และประกันชีวิตเอาไว้ด้วย ทำให้การขยายวงเงินลงทุนไม่มีผลกับตนเองเลย” รายได้เท่าไรถึงจะเรียกว่ารวย หากจะคำนวณรายได้ต่อปีในระดับที่จะสามารถใช้สิทธิ์ได้ตามวงเงินที่กำหนดขึ้นใหม่ 700,000 บาทแล้ว นักลงทุนจะต้องมีรายได้ขั้นต่ำคร่าวๆ ประมาณ 4,500,000 บาทต่อปี หรือ 375,000 บาทต่อเดือน กล่าวคือ 15% ของรายได้ 4,500,000 บาทต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 675,000 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่ลงทุนได้เกือบเต็มจำนวนที่เพิ่มขึ้น รายได้ต่อหัวต่อคนระดับ แสนบาทต่อเดือนในประเทศไทย ต้องบอกเลยว่า มีไม่มากนัก และต้องเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรใหญ่เท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าสิทธิพิเศษในครั้งนี้น่าจะมีผลในวงจำกัดจริง อย่างที่หลายคนตั้งข้อสังเกตไว้ตั้งแต่เริ่มต้น เพิ่มอัตราการลงทุน วิโรจน์ ตั้งเจริญ ผู้ช่วยกรรมการการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด 1 บลจ. กรุงไทย จำกัด บอกว่า การเพิ่มอัตราการลงทุนโดยปรับเพิ่มขึ้นจาก 15%ของรายได้มาเป็น 20% ของรายได้แทนนั้น เรื่องนี้จะสามารถเพิ่มฐานการลงทุนได้มากกว่าการปรับเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี เพราะหากมีการปรับเพิ่มเพดานการลงทุนเป็น 20% จะสามารถระดมเม็ดเงินจากนักลงทุนได้ ทั้งในระดับกลางถึงระดับล่างให้เข้ามาร่วมลงทุนได้มากขึ้น “หากมีการเพิ่มวงเงินลงทุนของกองทุน LTFและRMF จะทำให้กองทุนทั้ง 2 โตขึ้นจากเดิมที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 30% เพราะเมื่อมาเปรียบเทียบกับรายได้ของนักลงทุนไทยจะพบว่า คนที่เสียภาษีมีไม่เกิน 10% คือกลุ่มคนที่มีรายได้ไม่เกิน 500,000 บาท ขณะที่ คนที่มีราย 500,000-1,000,000 บาท จะต้องเสียภาษี 20% ซึ่งหากมีการอนุมัติเรื่องการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีและการปรับเพิ่มเพดานการลงทุนจะทำให้มีการออมเพิ่มขึ้น 10-20% ต่อปี โดยในเรื่องนี้ทางด้านของนายกสมาคมบริษัทจัดการลงททุน และบลจ.ต่างๆ ได้มีการผลักดันให้มีการอนุมัติการพิ่มวงเงินและเพดานการลงทุนไปพร้อมๆกัน” อนุสรณ์ บูรณการนนท์ กรรมการผู้จัดการ บลจ. บีที ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า เป็นสัญญาณที่ดีจากรัฐบาลชุดนี้ ที่มีการตัดสินใจและทำงานพร้อมทั้งแก้ปัญหาเรื่องต่างๆได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ด้วย สำหรับการเพิ่มเพดานการลงทุนนั้น ถือเป็นการเพิ่มวงเงินลงทุนให้กับนักลงทุน ถึงแม้ว่าเม็ดเงินลงทุนที่เข้ามาใหม่จะมีไม่มากนัก แต่จะสามารถกระตุ้นบรรยากาศการลงทุนให้กลับมาน่าลงทุนอีกครั้ง โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีรายได้สูงจะกลับเข้ามาลงทุนในช่วงที่หุ้นมีราคาถูกกว่าช่วงก่อนหน้านี้ ถือเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับภาวะตลาดในปัจจุบัน ภาษีกับการลงทุน ทั้งหมดเป็นเพียงแค่การประเมินเบื้องต้น จากการขยายวงเงินในการลดหย่อนภาษี ซึ่งแน่นอนซึ่งที่ตามมาคือการสูญเสียรายได้ของภาครัฐในการจัดเก็บภาษี โดย นายสาธิต รังคสิริ ที่ปรึกษาด้านยุทธ์ศาสตร์การจัดเก็บภาษีกรมสรรพากร บอกว่า” “การขยายวงเงิน RMF และLTF จะช่วยส่งเสริมให้ผู้มีรายได้ประจำนำเงินออมไปลงทุนในกองทุนทั้ง 2 มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯขยายตัวตามมา ส่วนผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรนั้นยอมรับว่ารัฐบาลได้รับผลกระทบต่อรายได้ แต่ไม่มากนัก” ข้างต้นเป็นความเห็นของภาครัฐในการดำเนินนโยบายดังกล่าว แต่อย่างลืมว่าแม้ผลกระทบต่อรายได้ภาษีจะเล็กน้อยจริงตามที่กล่าวอ้างก็ตาม ผลที่ตามมาควรเป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงอีกด้วย เพราะหากผลลัพธ์จากการขยับในครั้งแรกไม่สู่ดีนัก (การลงทุนขยายตัวได้เล็กน้อย) เชื่อว่านโยบายดังกล่าวคงจะไม่มีความ(หวัง)หมายอะไรที่จะกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศให้ปรับตัวดีขึ้นต่อจากนี้ สรุปแล้ว สิ่งที่อยากให้ตระหนักมากที่สุดนอกเหนือจาการให้สิทธิพิเศษต่างๆ แก่นักลงทุน รัฐบาลควรต้องปลูกฝังการออม และการลงทุน ที่คนไทยเข้าใจเพิ่มมากขึ้นควบคู่กันไปด้วย ซึ่งไม่ใช่แค่เป็นการทำกันเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น แต่ต้องทำต่อเนื่องให้สม่ำเสมอ มิใช่เพียงเพื่อนำมากระตุ้นการลงทุนในตลาดหุ้นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากการดำเนินนโยบายรูปแบบนี้ทำให้บรรยากาศการลงทุนกลับมาคึกคักได้จริงดังที่กล่าวไว้ เชื่อว่าผลที่ได้น่าจะเป็น ฝนที่ช่วยให้พื้นป่าชุ่มชื่นได้ระยะหนึ่งเช่นกัน
โดย ผู้จัดการออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น