กิจการหลายๆ แห่ง ได้ลงทุนในหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้กิจการอื่นเนื่องมาจากเหตุผลดังนี้ ประการแรกกิจการมีเงินสดส่วนเกินถ้าเก็บเอาไว้หรือนำไปฝากธนาคารอาจจะได้ผลตอบแทนต่ำจึงนำเงินดังกล่าวไปซื้อเงินลงทุนเพื่อจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่านำไปฝากธนาคาร โดยเงินลงทุนที่ซื้อนั้นมักจะมีความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้ เพราะเมื่อกิจการต้องการใช้เงินสดจะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย ประการที่สอง การที่กิจการไปซื้อเงินลงทุน เช่น ซื้อหุ้นสามัญ เพราะต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับกิจการที่ไปลงทุน หรือเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทในอนาคต ซึ่งการที่กิจการไปลงทุนในกิจการอื่นถึงระดับหนึ่งก็จะมีอำนาจในการควบคุมกิจการที่ไปลงทุนได้
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนได้ให้ความหมายของเงินลงทุนไว้ว่า เงินลงทุนหมายถึง สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อความมั่งคั่งให้กับกิจการไม่ว่าจะอยู่ในรูปของส่วนแบ่งที่จะได้รับ (เช่น ดอกเบี้ยรับ ค่าสิทธิ เงินปันผล) ในรูปของราคาที่เพิ่มขึ้น หรือในรูปของประโยชน์อย่างอื่นที่กิจการได้รับ
โดยทั่วไปแล้วการลงทุนนั้นอาจจะลงทุนในตราสารหนี้หรือในตราสารทุนก็ได้ ความหมายของตราสารหนี้และตราสารทุนเป็นดังนี้ตราสารหนี้ (Debt Security) หมายถึง สัญญาที่แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นให้แก่ผู้ถือตราสารตามจำนวนและเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย การลงทุนในตราสารหนี้จะได้รับผลประโยชน์ในรูปของดอกเบี้ย เช่น การลงทุนในพันธบัตรการลงทุนในหุ้นกู้ตราสารทุน (Equity Security) หมายถึง สัญญาที่แสดงว่าผู้ถือตราสารมีความเป็นเจ้าของในส่วนได้ส่วนเสียคงเหลือในกิจการที่ไปลงทุน การลงทุนในตราสารทุนจะได้ผลประโยชน์ในรูปของเงินปันผล เช่น การลงทุนในหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิในกิจการอื่น
ประเภทของเงินลงทุนเงินลงทุนถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่1. ประเภทของเงินลงทุน แบ่งตามระยะเวลาเพื่อแสดงในงบดุล1.1 เงินลงทุนชั่วคราว (Temporary Investment) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ ไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีเมื่อต้องการ1.2 เงินลงทุนระยะยาว (Long-Term Investment) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจจะถือไว้เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ต้องการเปลี่ยนเป็นเงินสดเมื่อต้องการ เช่น เงินลงทุนเพื่อเสริมศักยภาพ2. ประเภทของเงินลงทุน แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการถือเงินลงทุน ซึ่งมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ระบุไว้ว่าเมื่อกิจการได้เงินลงทุนมาแล้วต้องมีการจัดประเภทเงินลงทุนดังนี้2.1 หลักทรัพย์เพื่อค้า (Trading Securities) คือ เงินลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ที่อยู่ในความต้องการของตลาด ถือเอาไว้เพื่อขายในระยะเวลาอันสั้น กล่าวคือ ต้องการหากำไรจากการขึ้นลงของราคาในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งหลักทรัพย์เพื่อค้าจะจัดเป็นเงินลงทุนที่กิจการจะตั้งใจถือไว้ไม่เกิน 1 ปี ดังนั้น จึงถือเป็นเงินลงทุนชั่วคราวได้เท่านั้น จะแสดงไว้ในงบดุลเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน2.2 หลักทรัพย์เผื่อขาย (Available-for Sale-Securities) คือ เงินลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ที่อยู่ในความต้องการของตลาดที่ไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าและในขณะเดียวกัน ไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่ถือจนครบกำหนด ซึ่งเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายอาจจัดเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาวก็ได้ ทั้งนี้เพราะการถือเงินลงทุนชนิดนี้กิจการไม่มีวัตถุประสงค์ที่แน่นอนเอาไว้ ดังนั้นบางครั้งกิจการจะขายเงินลงทุนนี้ทันทีที่โอกาสอำนวย2.3 ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด (Held-to-Maturity Debt) คือ เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่กิจการมีความตั้งใจแน่วแน่และมีความสามารถที่จะถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอน โดยปกติจะจัดเป็นเงินลงทุนระยะยาว ยกเว้นถ้าเงินลงทุนนั้นกำลังจะครบกำหนดภายใน 1 ปี ก็จะจัดเป็นเงินลงทุนชั่วคราว2.4 เงินลงทุนทั่วไป คือ เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด ทำให้กิจการไม่สามารถจัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าหรือหลักทรัพย์เผื่อขาย ซึ่งเงินลงทุนทั่วไปอาจจัดเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาวก็ได้
ที่มา : หนังสือวารสารข่าวบัญชี-ภาษี ธรรมนิติ www.dharmniti.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น