วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

การอบสมุนไพร



การอบตัวด้วยไอน้ำที่ได้จากการต้มสมุนไพร เป็นวิธีบำบัดรักษาอย่างหนึ่งซึ่งเริ่มต้นจากประสบการณ์ การนั่งกระโจม ในหญิงหลังคลอด โดยใช้ผ้าทำเป็นกระโจม หรือนั่งในสุ่มไก่ที่ปิดคลุมไว้มิดชิด และมีหม้อต้มสมุนไพรซึ่งเดือด สามารถ ทำให้สามารถอบและสูดดมไอน้ำสมุนไพรได้ ผิวหนังได้สัมผัสไอน้ำด้วย ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ทำให้ ร่างกาย สดชื่น ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ต่อมาเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนทั่วไปประโยชน์
ร่างกายมีการเผาผลาญสารอาหารเพิ่มขึ้น
มีการขยายตัวของเส้นเลือดฝอย
การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ขยายรูขุมขนบริเวณผิวหนัง
บรรเทาอาการปวดเมื่อย
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
โรคหรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการอบสมุนไพร
โรคภูมิแพ้
โรคหอบหืดที่อาการไม่รุนแรง
เป็นหวัด น้ำมูกไหล แต่ไม่แห้งคัน
โรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บป่วยเฉพาะที่
โรคอื่นๆ ที่สามารถใช้การอบร่วมกับการรักษาแบบต่างๆ
เป็นการส่งเสริมสุขภาพ และมารดาหลังคลอด
สมุนไพรที่ใช้ในการอบ
สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม : สรรพคุณ เพื่อรักษาโรคผิวหนัง ปวดเมื่อย ตัวอย่าง เช่น ไพล, ขมิ้น
สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว : สรรพคุณ ใช้ชะล้างสิ่งสกปรก เพิ่มความต้านทานโรคให้กับผิวหนัง ตัวอย่าง เช่น ใบมะขาม ใบ, ฝักส้มป่อย
สารประกอบที่ระเหยได้ : สรรพคุณ มีกลิ่นหอม บำรุงหัวใจ ตัวอย่าง เช่น การบูร, พิมเสน
รักษาเฉพาะโรค : สรรพคุณ ใช้รักษาโรคผิวหนัง ตัวอย่าง เช่น เหงือกปลาหมอ
สมุนไพรที่ใช้มี 2 ชนิด ดังนี้
สมุนไพรสด สมุนไพรแห้ง ตัวอย่างสมุนไพรสด : พร้อมสรรพคุณ
ไพล : สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
ขมิ้นชัน : สรรพคุณ แก้โรคผิวหนังสมานแผล
ตะไคร้ : สรรพคุณ ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
ใบ - ผิวมะกรูด : สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน
ใบหนาด : สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย
ว่านน้ำ : สรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
ใบส้มป่อย : สรรพคุณ แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย
กระชาย : สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ปากแตก เป็นแผล ใจสั่น
ใบเปล้าใหญ่ : สรรพคุณ ช่วยถอนพิษ ผิดสำแดง บำรุงผิว
ตัวอย่างสมุนไพรแห้ง : พร้อมสรรพคุณ
เหงือกปลาหมอ : สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง พุพอง
ชะลูด : สรรพคุณ แก้ร้อนใน กระสับกระส่าย ดีพิการ
กระวาน : สรรพคุณ แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตามัว
เกษรทั้งห้า : สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
สมุนแว้ง : สรรพคุณ แต่งกลิ่น
ข้อห้ามในการอบสมุนไพร
มีไข้สูง
โรคติดต่อร้ายแรง
โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หอบหืดระยะรุนแรง ลมชัก
สตรีขณะมีประจำเดือน
มีการอักเสบจากบาดแผลเปิดและแผลปิด
อ่อนเพลีย อดอาหาร อดนอน หลังรับประทานอาหารใหม่
ปวดศีรษะ ชนิดวิงเวียนศีรษะ และคลื่นไส้
ประโยชน์ของการอบสมุนไพร
ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น
มีการขยายตัวของเส้นเลือดฝอย
การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ขยายรูขุมขนบริเวณผิวหนัง
บรรเทาอาการปวดเมื่อย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น